19_19-Mar-Revise-2

SNACKIFICATION of Communication

SNACKification
คำแปลกๆ นี้อาจจะดูคล้ายๆ กับเรื่องของ ขนมขบเคี้ยว
ใช่เลยครับ จากงานวิจัยค้นพบว่าในอเมริกา
ผู้คนมักจะทานอาหารจำพวกของขบเคี้ยวง่ายๆ มากกว่าอาหารมื้อหลักหลายหลายเท่า
ดังนั้นร้านอาหารส่วนส่วนใหญ่ในอเมริกา
จึงกลายเป็นร้านอาหารประเภท Grab n’ Go

หากเปรียบเทียบ ของขบเคี้ยวกับ การส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์ (Texting)
และเปรียบเทียบ อาหารมื้อหลักกับ การสนทนาด้วยเสียง (Verbal)
จะพบว่าในปัจจุบันสถานการณ์นั้นแทบจะไม่ต่างกัน
ผู้คนพูดคุยกันด้วยเสียงน้อยลง แต่หันไปส่งข้อความสั้นๆ หากันมากยิ่งขึ้น

ในแง่ดี ปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุคที่มีการแข่งขันสูง ทุกคนอยู่ในกระแสแห่งความเร่งด่วน
ดังนั้นข้อความสั้นๆ จึงเป็นสิ่งที่หลายคนชอบส่งและอ่าน
ในการรับสารทุกวันนี้ เพื่อประหยัดเวลา คนเลือกที่จะ อ่านหนังสือ หรือบทความยาวๆ ลดลง
และหันไปหาหนังสือประเภท How to หรือสรุปเทคนิคต่างๆ มากขึ้น

ในแง่การทำงานหากไม่ใช่เรื่องที่สำคัญจริงๆ
ผู้คนก็มักที่จะหลีกเลี่ยงการส่งอีเมลยาวๆ
โดยอาจจะหันไปส่งข้อความสั้นๆ ทางโทรศัพท์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ
งานวิจัยพบว่า 40% ของพนักงานของบริษัทชั้นนำในกรุงนิวยอร์ค
ลดใช้ติดต่อสื่อสารในลักษณะบทสนทนาด้วยวาจาลงไปมาก
แต่จะหันไปส่งข้อความสั้นๆ ให้พนักงานคนอื่นๆแทน

ในแง่ของการใช้ชีวิตประจำวัน Smart Devices มีอิทธิพลกับพวกเราค่อนข้างมาก
เราลดการหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน แล้วหันไปฟัง Podcast
เราแทบจะไม่เข้าห้องสมุด แล้วหันไปถาม Google ผ่านโทรศัพท์ของเรา
(เป็นเรื่องตลกที่คำว่า Google ถือเป็นคำกริยาที่เกือบทุกคนเข้าใจได้ไปแล้ว)

เช่นเดียวกับเรื่องการสื่อสาร ทุกวันนี้เราสื่อสารด้วยข้อความสั้นๆ
มากกว่าการโทรศัพท์คุยหรือสนทนากัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก
ที่คุณจะเจอคนยืนกดโทรศัพท์อย่างเมามันส์ในงานเลี้ยง หรืองาน Networking ต่างๆ

หากสอบถามผู้ที่ชื่นชอบในการส่งข้อความเราได้รับคำตอบว่า
การส่งข้อความสามารถลดความเครียดจากการสื่อสารลงไปได้เยอะ
เพราะไม่จำเป็นที่พวกเขาจะต้องตอบในทันที
และพวกเขามีเวลาที่จะ เลือกและแก้ไขสิ่งที่จะต้องการสื่อสารให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่นต่างๆ มักจะมีสติ๊กเกอร์หรืออีโมติคอน
ที่ช่วยทำให้การสื่อสารของพวกเขาน่าสนใจหรือมีความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น

แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าการสื่อสารด้วยข้อความ
ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกตามที่ได้ตั้งใจไว้อย่างเต็มที่
หลายครั้งแทนที่การส่งข้อความจะสร้างความเข้าใจที่ดี
แต่กลับกลายเป็นเพิ่มความเข้าใจผิดมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
และน่าประหลาดใจที่ พวกเราทำการซื้อขายผ่านหน้าจอด้วยการส่งข้อความหากัน
และแน่นอนว่าเราอาจจะไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของคู่สนทนา
หรือความน่าเชื่อถือผ่านทางน้ำเสียงของคนที่กำลังสื่อสารอยู่ได้เลย

การทดลองในอเมริกาชิ้นหนึ่งพบว่า
ในการอ่านข้อความ แล้ว ตีความว่า ผู้ส่งข้อความมีอารมณ์เช่นไร
ผู้ร่วมการทดลอง ตีความได้อย่างถูกต้องเพียงแค่ 56%
แต่หากเป็นการฟังเสียงของคู่สนทนาแล้วตีความ
ผู้ร่วมการทดลอง ตีความได้อย่างถูกต้องถึง 75%

แล้วเราควรทำอย่างไรกันดีล่ะ
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการติดต่อสื่อสารแบบ snackified มีข้อดีที่ชัดเจน
เราสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย เช่น บอกให้คนที่คุณรักรู้ว่าเราคิดถึง
เราสามารถรับส่งข้อมูลให้กับผู้คนได้อย่าง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสนุกสนาน

ทว่าเราต้องตระหนักถึงข้อเสียของมันและทำการปรับเปลี่ยนที่จำเป็น อยู่ สองประการ

ประการแรก การแสดงออกทางอารมณ์ของเราเป็นสิ่งจำเป็น “ฉันรู้สึก…”
และหากจำเป็นก่อนที่จะรีบและตอบสนองในเชิงลบกับสิ่งที่คุณได้รับรู้
คุณควรสอบถามอย่างตรงไปตรงมาว่า
“นี่คือข้อความที่ฉันได้รับ … ขอสอบถามว่า คุณหมายความว่าอย่างไร”

ประการที่สอง เพิ่มเวลาพูดคุยกับผู้คนโดยไม่มีอุปกรณ์ดิจิทัล
จะช่วยลดการตีความทางอารมณ์ที่ผิดพลาด และเพิ่มการเอาใจใส่ตลอดจนเพิ่มความสัมพันธ์มากขึ้น
เพราะการการสบสายตาช่วยในการเชื่อมต่อกับคู่สนทนามากขึ้น

พูดตรงๆว่าเราไม่สามารถมีชีวิตโดยปราศจากการสื่อสารด้วยเสียงและท่าทางได้
แต่ก็ต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีก็ทำให้ชีวิตเราสะดวกสบาย
ทั้งสองสิ่งสามารถเดินทางร่วมกันได้อย่างเหมาะสมถ้าเราปรับสัดส่วนให้ดี
เหมือนกับที่เราต้องทานอาหารมื้อหลักเพื่อการดำรงชีวิต
แล้วเสริมด้วยของขบเคี้ยวเพื่อสร้างสีสันให้กับมื้ออาหารของเรา

ดังนั้น พูดคุยกันให้มากขึ้น ส่งข้อความให้น้อยลง กันนะครับ

 

แปลและเรียบเรียงโดย Rei Speech Masters

หากชื่นชอบบทความนี้ ท่านสามารถ กดติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *