5_5-Apr-Resize

ถ้า”คุณเมาแล้วขับ” คุณอาจกลายเป็น”ฆาตกร”
ถ้า “Present งานแล้วคนหลับ”
คุณจะเป็นตัวอะไร?

แม้ผลลัพธ์อาจไม่รุนแรงเท่า แต่เราก็ไม่ควรมองข้าม
จะดีกว่าไหมถ้าเราลด ”อาชญากรรม จากการนำเสนอ” ลงได้
ด้วยการเปลี่ยน “วิธีคิดและวิธีการนำเสนอ” ใหม่

ก้าวแรก สู่การนำเสนอที่ “ไพเราะถึงหู ดูดีถึงตา ลีลาถึงใจ” อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

By Kwintas [Tum] Phuwaratsirikhun | Present Perfect

โศกนาฏกรรม แห่งการนำเสนอ (ปฐมบท)

17098068_1065315726906192_1563998309355737972_o

ในชีวิตของคุณเคยเกิดเหตุการณ์เหล่านี้บ้างไหม?

ถ้าคุณเป็น”นักศึกษา” 
นำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์แล้วอาจารย์ “ไม่ให้ผ่าน”
ถ้าคุณเป็น”อาจารย์” สอนหนังสือแล้วลูกศิษย์”ไม่สนใจ”
ถ้าคุณเป็น”Salesperson” ขายของแล้วลูกค้า”ไม่ซื้อ”
ถ้าคุณเป็น”ลูกน้อง” นำเสนองานแล้วหัวหน้า”ไม่เข้าใจ”

ถ้า”คุณเมาแล้วขับ” คุณอาจกลายเป็น”ฆาตกร”
ทันทีถ้ามีคนเสียชีวิตจากความประมาทของคุณ
ถ้า “Present งานแล้วคนหลับ” ผลลัพธ์อาจไม่รุนแรงเท่า แต่เราก็ไม่ควรมองข้ามความประมาทนั้น

จะดีกว่าไหมถ้าเราลด
”อาชญากรรมจากการนำเสนอ” ลงได้
ด้วยการเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการนำเสนอใหม่
ให้วิทยานิพนธ์ของคุณ ”ได้เกรด A”
ให้ลูกศิษย์ของคุณ “ได้เฮ” พร้อมความรู้ที่มากขึ้น
ให้ลูกค้าของคุณรีบลุกขึ้นมา ”เซ็นสัญญา”
ให้เจ้านายของคุณปลื้มจนไม่ลืม ”ให้โบนัส”
อยากได้ผลลัพธ์แบบนี้ ของดีรออยู่ตอนต่อไปครับ

ตอนที่ 2: Content vs. Present

17192269_1072403402864091_446160868803969785_o

คุณคิดว่าอะไรสำคัญกว่ากัน

ระหว่าง ”เนื้อหา” กับ ”การนำเสนอ”?

ผมถามคำถามนี้กับ นักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปบรรยายเรื่อง
“การนำเสนองาน ให้น่าสนใจ”
เพราะ อาจารย์ได้เปิดใจกับผมว่า
“นักศึกษาที่นี่ทำสไลด์แบบ ใช้ตัวหนังสือเยอะ ขาดสีสัน และก็มายืนอ่านสไลด์ตอนเวลานำเสนอ”
ผมนึกภาพตามสิ่งที่อาจารย์ท่านเล่ามาแล้ว

ขอสงบนิ่ง ไว้อาลัยให้กับ โศกนาฏกรรม
ที่ทางอาจารย์ ต้องประสบพบเจอ ทุกเทอม มา ณ ที่นี้เลยครับ

กลับมาที่คำถามข้างบน
นักศึกษาเกิน 90% ในชั้นตอบว่า “เนื้อหา” สำคัญกว่า ”การนำเสนอ”
ทำให้ผมเข้าใจในทันทีว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจาก วิธีคิดที่เชื่อว่า “เนื้อหา” สำคัญที่สุด
คุณอาจจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “Content is King” ใช่ไหมครับ?
ถูกต้องครับ….เนื้อหา คือ ราชา
แต่ทว่าคำกล่าวนี้ เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียวครับ
ตอนหน้าผมจะมาอธิบายว่าทำไม?
ก่อนจากกัน ผมขอทิ้งคำถามให้ชวนคิดเล่นๆ

คุณคิดว่าระหว่าง ”เนื้อหา”กับ”การนำเสนอ” อะไรสำคัญกว่ากัน ?

ตอนที่ 3: King & Queen

จากคำถามที่ทิ้งท้ายไว้ตอนที่แล้วว่า ระหว่าง”เนื้อหา”กับ”การนำเสนอ” 
อะไรสำคัญกว่ากัน ?
ผมอยากให้คุณลองเข้าไปดูคลิปสั้นๆ งานวันเปิดตัวไอโฟนครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2007 ก่อนที่จะอ่านบทความนี้

Steve Jobs introducing the first iPhone (MacWorld2007)

17358792_1078667375571027_6297332269819478833_o

ตอนที่ไอโฟนเปิดตัวนั้นได้สร้างแรงสั่นสะเทือนที่เปลี่ยนโลกของเราไปมากมาย
ความยิ่งใหญ่ของงานวันเปิดตัวไอโฟนครั้งแรกไม่ใช่เพียงแค่ความสมบูรณ์แบบในส่วน
”เนื้อหา” ที่แสดงให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของตัวโทรศัพท์
แต่ยังรวมไปถึงรูปแบบ “การนำเสนอ” ด้วยสไลด์ที่เรียบง่าย แต่แฝงลูกเล่น
ผ่านการเล่าเรื่องที่ทรงพลังของสตีฟ จ๊อบส์
ว่ากันว่านี่คือหนึ่งในสุดยอดแห่งการนำเสนอตลอดกาล ที่เหลือให้ทุกคนได้ไว้ใช้เป็นต้นแบบในการศึกษา

ตอนสมัยเป็นนักศึกษาที่คณะสถาปัตย์ฯ ผมถูกสอนให้ใส่ใจทั้ง
”เนื้อหา” ซึ่งก็คือ แบบอาคาร และวิธีการ”นำเสนอ”เพื่อถ่ายทอดความคิดของเราให้อาจารย์เข้าใจ
ถ้าแบบของคุณดี และนำเสนอได้ยอดเยี่ยม คุณก็ได้เกรด A ไป
สถาปนิกทั้งหลายจึงถูกฝึกมาโดยให้ความสำคัญกับทั้งสองเรื่องนี้อย่างเท่าเทียมกัน
“เนื้อหา” นั้นสำคัญครับ

• ถ้างานวิจัยที่คุณทำมันช่วยให้โลกน่าอยู่ขึ้น • ถ้าความรู้ที่คุณมีมันช่วยแก้ไขปัญหาให้คนอื่นได้ • ถ้าสินค้าที่คุณขายมันช่วยให้คนสบายขึ้น

แต่มันไม่มีประโยชน์ครับ ถ้าทำอะไรดีๆแล้ว ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครสนใจ และไม่มีใครฟัง
ผมอยากให้คุณเห็นความสำคัญใน ”วิธีการ” เพื่อส่งผ่านไปให้ถึง ”กลุ่มเป้าหมาย” ด้วย

Content is King… But Presentation is Queen เนื้อหา คือ ราชันย์ ส่วนการนำเสนอนั้น คือ ราชินี
อยากให้งานนำเสนอของเราออกมาดีแบบที่ สตีฟ จ๊อบส์ ทำ
อย่าลืมพาทั้งราชาและราชินีมาอยู่คู่กันในทุกการนำเสนอนะครับ

โศกนาฎกรรม แห่งการนำเสนอ (ปัจฉิมบท)

17390476_1078675532236878_4046391171266837069_o

ปัญหาในการนำเสนอ ที่ผมพบเห็นส่วนใหญ่นั้น

มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ”วิธีคิด”และ”วิธีการ”
ถ้าคุณให้ความสำคัญแต่ในส่วน ”เนื้อหา”
จนมองข้าม ”การนำเสนอ”
คุณก็จะไม่ใส่ใจ ”วิธีการ”
และมันก็จะนำไปสู่
“โศกนาฏกรรม แห่งการนำเสนอ บทสุดท้าย”
นั่นคือ การเลือกใช้ ”เครื่องมือ” ที่ผิด
เวลาผมไปเข้าสัมมนาและเห็นวิทยากร เปิดสไลด์แผ่นแรกมาด้วย ตัวหนังสือที่เรียงตัวอัดแน่นกันเต็มแผ่นสไลด์

ผมจะเหลือบไปดูแก้วกาแฟที่เพิ่งซื้อเข้ามาและคิดดังๆในใจว่า
ปริมาณกาแฟมันเพียงพอที่จะไม่ให้ ผมเสียชีวิตก่อนจบสัมมนานี้หรือไม่

วัตถุดิบที่เราใช้ในการนำเสนอนั้นมีหลากหลายแบบ ทั้งตัวหนังสือ รูปภาพ กราฟ คลิปวีดีโอ ฯลฯ
แต่เรื่องเศร้าที่เราเห็นกันบ่อยที่สุด คือ “การใช้ตัวหนังสือเยอะๆในสไลด์”
หลายคนมักคิดสั้น ด้วยการเอาข้อความที่พิมพ์ในโปรแกรม MS-Word
ลากมาวางในโปรแกรม MS-PowerPoint
โดยไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองและวางแผนในการนำเสนอเลย
และนี่เองเป็น สาเหตุหลักอันดับหนึ่ง ในการเสียชีวิตของผู้ชมของคุณ
ถ้าเปรียบการนำเสนอเป็นเหมือนอาหารจานหนึ่ง วัตถุดิบที่ใช้ปรุงก็คือข้อมูลที่คุณมีอยู่
คุณคงไม่ใส่เนื้อสัตว์หรือผักลงทั้งชิ้นโดยไม่หั่นให้พอดีคำกับผู้ทาน ใช่ไหมครับ?

การนำเสนอก็เช่นเดียวกัน
คุณต้องเลือกวัตถุดิบที่จะใช้ให้เข้ากับการนำเสนอของคุณด้วย
คุณรู้ไหมว่าสมองของมนุษย์ ใช้เวลาในการรับรู้ตัวหนังสือหรือข้อความใน 60 วินาที
แต่ใช้เวลารับรู้ภาพแค่ 1 ใน 10 วินาที (นั่นคือเหตุผลที่หนังสือนิยายถึงขายไม่ดีเท่าหนังสือการ์ตูน)

การที่คนหนึ่งคนจะกลายเป็นเชฟที่มีฝีมือได้ ต้องผ่านการเรียนรู้ในธรรมชาติของวัตถุดิบแต่ละชนิด
และเข้าใจในกระบวนการปรุงที่แตกต่างกัน เพื่อทำให้อาหารที่เสร็จออกมาน่าทาน รสชาติดี
เช่นเดียวกับการที่คุณจะออกแบบการนำเสนอ
ให้คนฟังเนื้อหาของคุณแล้วสบายหู ดูสไลด์ของคุณแล้วสบายตา ได้คุณค่าสารอาหารทางสมองครบถ้วน
คุณก็ต้องเปลี่ยนมุมมองใน ”วิธีคิด”และ”วิธีการ”ใหม่ทั้งหมด

ในเรื่องตอนต่อไป ผมมี “สุขบัญญัติ 10 ประการของการนำเสนอ”
ที่จะช่วยให้งานนำเสนอของคุณถูกสุขอนามัย
ลดอัตราการก่ออาชญากรรม ทางการรับรู้ขอผู้ชมได้

รอติดตามในสัปดาห์หน้านะครับ
By Kwintas [Tum] Phuwaratsirikhun | Present Perfect

หากชื่นชอบบทความนี้ ท่านสามารถ กดติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *