24_30-Apr

ผมมีประสบการณ์ด้านการพูดต่อหน้าที่ชุมชน และการฝึกอบรมที่หลากหลาย
ตั้งแต่ ให้คำแนะนำตัวต่อตัว ไปจนถึงพูดบนเวทีกับผู้ชมหลักพัน
ปีนี้ผมมีแรงบันดาลใจ ที่จะแบ่งปัน เทคนิคการพูดง่ายๆ ให้กับผู้คน สัปดาห์ละ 1 ข้อ
และนี่คือ การแบ่งปันสิ่งที่ผมชำนาญ ประจำเดือน เมษายน ของผมครับ

EP. 9: เชื่อใจผู้ฟังกันเถอะ
EP. 10: ไม่ผิด ไม่ขอโทษ (มีไรป่ะ?)
EP. 11: ขำเนียนๆ
EP. 12: เก็บ Exp. เพื่อ Up Lv.

EP. 9: เชื่อใจผู้ฟังกันเถอะ

17310229_1071610399610058_7476260694707163721_o

เมื่อสัปดาห์ก่อนมีลูกค้าบ่นให้ผมฟังว่า
“หนูเป็นสายวิชาการ ต้องขึ้นพูด คนจะต้องเบื่อต้องหลับแน่ๆเลย”
นักนำเสนอ มือใหม่หลายคน
ไม่กลัวลืมบท ไม่กลัวเวที แต่กลัว…ผู้ฟัง

กลัวผู้ฟังไม่เข้าใจ กลัวผู้ฟังไม่สนใจ กลัวผู้ฟังไม่ชอบ
ในหลายๆ เวลาที่เราจะต้องขึ้นพูดต่อหน้าคนเยอะๆ
หรือว่าขึ้นพรีเซนต์งานเรามักจะมีความกังวลแปลกๆ ว่า
ผู้ฟังกำลังจับผิดเรา ผู้ฟังจะไม่เข้าใจเรา
ผู้ฟังจะเบื่อจะง่วงจะหลับ ผู้ฟังจะไม่ชอบเรา
พอคิดแบบนั้น ก็เลยได้ผลลัพธ์แบบที่คิดเป๊ะ!!!!
ถามจริงๆว่า คิดแบบนั้นไปทำไมครับ
คิดไปแล้วชีวิตดีขึ้นไหมครับ?
เชื่อผมนะ [เตะความรู้สึกนั้นทิ้งไปครับ]

แล้วถามตัวเองว่า
เรามาพูดหรือนำเสนอสิ่งดีๆให้คนฟังใช่ไหม?
สิ่งที่เราจะบอกเป็นประโยชน์และมีคุณค่าใช่ไหม?
ถ้าเราปรารถนาดี ขอจงเชื่อเถอะครับว่า
ผู้ฟังก็จะรู้สึกดีที่ได้รับ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์  พวกเขาจะได้แรงจูงใจที่จะลงมือทำ
การนำเสนอของเราจะทำให้ชีวิตของผู้ฟังดีขึ้น
ไม่มีใครประสงค์ร้ายกับเรา พื้นที่การนำเสนอนั้นๆจะมีแต่มิตรภาพ
เราจะสบายใจมากขึ้นที่จะสื่อสารกับผู้ฟังครับ

แหม ผม build มาขนาดนี้แล้ว ลอง “เชื่อใจผู้ฟังกันเถอะ” ครับ

EP. 10: ไม่ผิด ไม่ขอโทษ (มีไรป่ะ)

17311351_1071618702942561_4142347752630671551_o

• อยากบอกว่า นี่คือการพูดครั้งแรกของผม อาจจะทำได้ไม่ดีนัก
• เรื่องนี้ผมอาจจะยังไม่ได้เตรียมตัวมาเท่าไรนะครับ”

เราคงเคยเจอ การเปิด การนำเสนอแบบนี้
และเจอ การปิด การนำเสนอแบบนี้

• การนำเสนอนี้อาจจะยังดีไม่พอ แต่ก็รบกวนพิจารณาด้วย”
• ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ไม่ผิดทำไมต้องขอโทษ?
เชื่อผมเถอะครับ ถ้าเราไม่ได้ทำผิด
เราจะไปขอโทษทำไม

แต่รู้มั้ยครับนักนำเสนอมือใหม่หลายคน
มักเปิดการพรีเซนต์ด้วยการขอโทษก่อน
• ขอโทษนะครับ วันนี้ผมอาจจะยังเตรียมตัวมาไม่ดี
• ขอโทษนะครับ เนื้อหาวันนี้อาจจะยังไม่ถูกใจ
• ขอโทษนะครับ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของผม

ในฐานะผู้ฟังลองนึกดูสิครับว่า
ถ้าผู้พูดของเราออกตัวตั้งแต่แรกแล้วว่า การพูดคำนี้ มันไม่ดีพอ เราจะอยากฟังไหมครับ
ถ้าโลกสวย เราอาจจะฟังด้วยความสงสารหรือว่าความเวทนา แต่เราจะไม่ได้ฟังด้วยความชื่นชมอย่างแน่นอน

ดังนั้นตัวของผู้พูดเองจงทำเสมือนกับว่า
• เราเตรียมมาดีที่สุด
• มั่นใจมากที่สุดอยากจะมอบสิ่งดีที่สุดให้กับผู้ฟัง

ผมมั่นใจครับว่าผู้ฟังจะรับรู้ได้ถึง ความมั่นใจที่ผู้พูดมาส่งต่อให้
นอกเหนือจากการขออภัยหรือว่าขอโทษในบทเปิดแล้ว บทปิดก็เหมือนกันครับ
ตอนจบไม่ต้องพูดครับว่า • ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
เพราะถ้าเกิดคุณพูดแบบนั้น
สิ่งที่คุณสั่งสมมาทั้งหมดตลอดการพรีเซนต์
ก็อาจจะสูญสลายไปภายในพริบตา

สรุปครับ
การขอโทษ โดยไม่ผิด เปรียบเสมือน “การฆ่าตัวตายบนเวที”

EP. 11 : ขำแบบเนียนๆ

17434716_1078676378903460_8400056601437135526_o

เมื่อเดือนก่อนผมได้รับเชิญไปจัดสัมมนาสั้นๆ
ให้กับกลุ่มผู้ฟังขนาดไม่ใหญ่มาก 
ณ โรงแรมแห่งหนึ่ง (ที่ค่อนข้างเก่า)
ผมเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีอย่างที่เคยเป็นครับ

แต่ขณะที่กำลังพูดอยู่ครับ…ไฟดับพรึบ!!!!
วูบแรกคิดทันทีครับว่า [เวรแระ แย่แล้ว]
แต่ผมต้องดึงสติกลับมา ว่าแล้วผมก็ร้องเพลง “แฮปปี้เบิร์ธเดย์ ทูยู” แบบตลกๆ
จากที่ทุกคนตกใจในเรื่องของไฟดับ ผู้ฟังทุกท่านก็หัวเราะได้
จากนั้นผมก็ขออนุญาตให้ผู้รับผิดชอบจัดการสัมมนาแจ้งให้พนักงาน
เพื่อตามช่างไฟมาจัดการเรื่องของไฟฟ้าที่ดับ
ระหว่างรอ ผมขอให้ผู้ฟังทำกิจกรรมง่ายๆ ดังต่อไปนี้

• จับกลุ่มกัน กลุ่มละ 5 คน
• สรุปสิ่งที่ผมได้สื่อสารไป โดยผมให้เวลาคุยกัน 5 นาที
• ให้เวลาตัวแทนกลุ่ม ออกมานำเสนอกลุ่มละ 1 นาที

สิ่งสำคัญก็คือ เราต้องดึงความสนใจของผู้ฟัง ออกจากสถานการณ์ที่ผิดพลาด
ยกตัวอย่างเช่น ผมร้องแฮปปี้เบิร์ดเดย์ หรือ ถ้าหากเป็นโรงแรมที่ผมคุ้นเคย
ผมอาจจะผมแซวเจ้าหน้าที่โรงแรมว่า “สงสัยเดือนนี้ลืมจ่ายค่าไฟ”

สรุป เมื่อมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น
1. มุขตลกเล็กๆน้อยๆ จะทำให้ผู้ฟังผ่อนคลาย และเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาที่เกิดขึ้น
2. หากิจกรรมให้ผู้ฟังของพวกเราได้ทำ เพื่อทำให้พวกเขาไม่ติดค้างอยู่กับปัญหา
3. พยามแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จ ขำแบบเนียนๆ ก็ช่วยเอาตัวรอดได้ครับ

EP. 12: เก็บ Exp. เพื่อ Up Lv.

17632047_1087394434698321_6345725940454452859_o

Practice Makes Perfect
หลายคนคงจะคุ้นชินกับคำนี้
ถามจริงๆเถอะครับคำว่าสมบูรณ์แบบ (Perfect) มันมีอยู่ในโลกนี้จริงๆหรอ
ตัวของผมเองผมคิดว่าความสมบูรณ์แบบไม่มีในโลก

เราสามารถพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นไปได้
ซึ่งอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งได้ให้คำพูดเพิ่มเติมครับ
[Proper Practice Prevents Poor Performance.]

ดังนั้นการเก็บประสบการณ์(Experience – Exp) เพื่อยกระดับ (Up Level)
ในการพูดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ
น่าแปลกที่นักนำเสนอหลายคนที่รอที่จะขึ้นไปบนเวทีใหญ่
แต่พลาดที่จะเก็บประสบการณ์จากเวทีเล็กๆ
บอกได้หรือว่าเค้าพลาดโอกาสสำคัญอย่างยิ่งเพราะ
เมื่อใดที่เราพูดเรามีโอกาสที่จะฝึกฝนตัวเองให้คุ้นชินกับ
จังหวะของเรา ท่าทางของเรา และเนื้อหาที่เราพูด
นั่นคือเราสามารถฝึกฝนและพัฒนาไปในทุกๆครั้งที่เราขึ้นมายืนพูด
ไม่ว่าจะเป็นเวทีเล็กเวทีใหญ่เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์

นักเขียนชื่อดังที่ชื่อว่า Malcolm Gladwell
ผู้แต่งหนังสือขายดีที่มีชื่อว่า กฎ 10,000 ชั่วโมง (The 10,000 Hour Rules) กล่าวว่า
“หากเราต้องการเป็นมืออาชีพในด้านใดด้านหนึ่ง เราต้องมีเวลาฝึกฝนในเรื่องนั้นๆ 10,000 ชั่วโมง”

แน่นอนครับเรายิ่งฝึกเราก็จะยิ่งเก่งขึ้นมีประสบการณ์มากขึ้น
อย่างไรก็ดี บางคนอาจจะตกหลุมพราง เหมือนกันว่าทำซ้ำบ่อยๆ ทำซ้ำเยอะๆ แล้วจะเกิด ความชำนาญ
แต่จะโชคร้ายมากๆ ถ้าไปเกิดความชำนาญในเรื่องที่ผิด

การเก็บประสบการณ์ไม่ใช่แค่การทำซ้ำหรือทำบ่อยบ่อยเท่านั้น
การเก็บประสบการณ์จะต้องนำประสบการณ์ที่ได้รับกลับมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้น

ตลอดเวลาที่ผมทำอาชีพเกี่ยวกับการพูดมา 10 ปี
ผมมีความเชื่อเสมอว่าผมสามารถพูดให้ดีขึ้นในทุกๆครั้ง ทีละเล็กทีละน้อย
ดังนั้นในทุกๆครั้งที่ผมมีโอกาสได้ขึ้นมายืนพูด ผมจะกลับไปถามตัวเองเสมอด้วยคำถามสองข้อดังต่อไปนี้

ข้อแรก…วันนี้ผมทำอะไรดีดีหรือผมชอบพฤติกรรมอะไรของตัวเอง

ข้อที่สอง…วันนี้ผมสามารถพัฒนาหรือปรับปรุงตัวเองในเรื่องใดบ้าง หรือครั้งหน้าผมจะไม่ทำอะไรแบบนี้อีก

นี่คือวิธีการครับที่ทำให้ผมพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผมเริ่มต้นการพูดครั้งแรกเมื่อ 10 ปีที่แล้วกับผู้ฟังประมาณห้าท่าน
จนบัดนี้ผมมีโอกาสขึ้นพูดบนเวทีขนาดใหญ่ที่มีผู้ฟังในระดับ 1,000 คน
1,000 คนในวันนี้คงไม่สามารถเกิดได้ ถ้าผมไม่เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากเวทีเล็กๆจากกลุ่มคนเล็กๆ
1,000 คนในวันนี้ก็คงจะมีคุณภาพ ไม่ดีนัก ถ้าผมไม่พัฒนาตนเองจากการมองหาข้อดีและข้อควรปรับของตัวเอง

สรุป: เพื่อยกระดับการพูดของตนเองได้ดีขึ้น
เชื่อผมเถอะครับลงสนามให้เยอะ
1. ฝึกฝนให้มาก
2. มองหาข้อดีในตนเอง
3. มองหาข้อที่ควรพัฒนากับตนเอง
แค่นี้ท่านก็จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอนครับ

หากชื่นชอบบทความนี้ ท่านสามารถ กดติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *