IMG_4004

ผมมีประสบการณ์ด้านการพูดต่อหน้าที่ชุมชน และการฝึกอบรมที่หลากหลาย

ตั้งแต่ ให้คำแนะนำแบบตัวต่อตัว ไปจนถึง ➜ การพูดบนเวที กับผู้ชมหลักพัน
ปีนี้ผมมีแรงบันดาลใจ ที่จะแบ่งปัน เทคนิคง่ายๆ เพื่อสร้างผลลัพธ์ด้านการพูด ให้กับผู้คน สัปดาห์ละ 1 ข้อ
และนี่คือ การแบ่งปันสิ่งที่ผมชำนาญ ประจำเดือน มิถุนายน ของผมครับ

EP. 21 : สื่อประกอบการพูดต้อง เกี่ยว ง่าย ชัด
EP. 22 : เพชรแท้ ไม่มีวันสลาย
EP. 23 : Speak Hungry?
EP. 24 : ข่ม…ความตื่นเต้น

EP. 21 : สื่อประกอบการพูดต้อง [เกี่ยว ง่าย ชัด]

18922730_1152356081535489_5118796613950813233_o

ในการนำเสนอ พระเอก คือ ผู้พูด
พระรอง คือ สื่อประกอบการพูด
อย่าให้พระรอง ทำหน้าที่ตัวละครหลัก
และอย่าทำให้ พระรองกลายเป็นผู้ร้าย

[เกี่ยว ง่าย ชัด]
นี่คือ สามหลักสำคัญ เพื่อการเลือกสื่อประกอบการพูด
เพื่อจะทำให้พระรองทำหน้าที่อย่างเหมาะสม

• เกี่ยว
สื่อที่นำมาประกอบการพูด ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะพูด
ไม่ว่าจะเกี่ยวในทางตรง หรือถ้าหากมีความเกี่ยวข้องทางอ้อม
ก็ต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าสื่อนั้นๆ เกี่ยวข้องอย่างไรกับสิ่งที่พูด
เพราะสื่อมีไว้สนับสนุนการพูด มิใช่ทำให้ผู้ชม เกิดความ งุนงงหรือสับสน

• ง่าย
สื่อที่ใช้ประกอบการพูดควรจะเป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายไม่ละเอียดหรือซับซ้อนจนเกินไป
หากเป็นรูปภาพ รูปภาพควรมีความหมายแค่หนึ่งเดียว
หรือมีแค่รูปเดียวต่อการยกขึ้นมานำเสนอแต่ละช่วง

****************

• ชัด
มองเห็นได้ชัดเจนจากทั่วทั้งห้อง
ดังนั้นหากเป็น การเขียนกระดาน หรือบน Power Point
-สีตัวอักษรที่ใช้ควรเป็นสีเข้ม
เช่น ดำ น้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม ม่วงเข้ม
-ตัวอักษรควรมองเห็นได้ชัดเจนโดยใช้หลัก 6 × 6 นั่นคือ
มีได้ไม่เกิน หกบรรทัด บรรทัดหนึ่งมีคำสำคัญไม่เกิน หกคำ
สรุป:  สื่อที่ใช้ประกอบการพูดจะต้อง

• เกี่ยวกับเรื่องที่พูด
• เข้าใจง่าย
• มองเห็นได้ชัดเจน

EP 22. เพชรแท้ ไม่มีวันสลาย

19143365_1158637784240652_2035893539507129175_o

ในการประกวดสุนทรพจน์ของ Toastmasters International มีกติกาอยู่ข้อหนึ่งที่สำคัญมากๆ
นั่นคือคำว่า. . .

Originality (ความเป็นต้นแบบ)

ในฐานะผู้พูดการลอกเลียนแบบเนื้อหาของผู้อื่น
เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ
ตัวเราก็คือตัวเรา ประสบการณ์ในชีวิตของเรามีคุณค่าในตัวเอง
เราไม่จำเป็นขโมยเนื้อหาของผู้อื่น แล้วทึกทักว่าเป็นของเรา

 

แต่ก็มีคนเถียงว่า [Nothing is Original]

ก็มีความจริงอยู่ครึ่งนึง
เพราะน้อยคนนักที่จะเสกวิชาความรู้ออกมาได้ด้วยตนเอง
คนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ อาจจะเคย
ได้ยิน ได้อ่าน ความรู้และข้อมูล จากแหล่งต่างๆ

โดยมารยาท หากเราจะอ้างอิงเรื่องราวเรานั้นเราก็ควรจะบอกแหล่งที่มาให้ชัดเจนว่า

เราได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน มาจากแหล่งข้อมูลไหน
เพื่อเป็นการให้เกียรติผู้ที่นำเสนอไว้ก่อนหน้านี้

สิ่งที่ควรจะเป็น
เราควรแบ่งปันประสบการณ์ของเรา มาประกอบแหล่งข้อมูลอ้างอิง
เพื่อให้อย่างน้อย เรื่องราวที่เล่า เรื่องราวที่แบ่งปัน เรื่องราวที่เขียน
ก็จะผสมผสานความเป็นตัวตนของเรามากยิ่งขึ้น

เรื่องราวชีวิตของแต่ละคนน่าสนใจและมีความพิเศษเสมอ
ดังนั้นเมื่อนำมาประกอบกับ หลักการที่น่าเชื่อถือ
เรื่องของเราก็จะเปล่งประกายมากยิ่งขึ้น

ผู้ฟัง ณ ปัจจุบัน ก็มีโอกาสได้ศึกษาความรู้จากแหล่งต่างๆ มากมาย นะครับ
และพวกเขาก็ทราบนะครับว่า อะไรจริง อะไรลอกมา

คำถามคือ ถ้าหากเราไม่เชื่อมั่นในชีวิตของตัวเอง
แล้วใครล่ะจะมาเชื่อมั่นในตัวเรา?

EP. 23 : Speak Hungry?

19095263_1159593954145035_6647072140830096070_o

“พี่เรย์ ผมขอพักก่อน…หมดแรงอ่ะ”

เจ้าของกิจการบริษัทขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง
ตะโกนออกมา ระหว่างฝึกซ้อม Keynote Speech กับผมตอนบ่ายแก่ๆ ของ เมื่อ หลายสัปดาห์ก่อน

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า เจ้าของกิจการท่านนี้ และทีมงาน
ต้องเตรียมตัวสำหรับงานที่จะต้องขึ้นพูดบนดวทีขนาดใหญ่ที่มีผู้ฟังร่วม 1,000 คน อย่างหนักมาหลายวัน

ดังนั้นในวันสุดท้ายที่ฝึกซ้อมกับผม (ซ้อมใหญ่)
เขาเลยไม่ได้ทานข้าวตั้งแต่เช้า
พลังงานเลยไม่พอสำหรับการฝึกฝน ตัวต่อตัวกับผม
เพราะผมดูแลอย้างเข้มข้นจริงๆ (ฮา)

การพูดอย่างเต็มที่จำเป็นจะต้องใช้พลังงานอย่างมาก
ดังนั้นเราควรทานอาหารให้อยู่ท้อง

• บางความเชื่อ บอกให้ทานให้เต็มอิ่ม
• บางความเชื่อบอกให้ ทานอะไร เบาๆ ก่อนการพูด สักครึ่งชั่วโมง (ราวกับทานยาก่อนอาหาร)

ความเชื่อส่วนตัวของผม
ผมจะทานอาหารนิดเดียว ก่อนขึ้นพูดครับ
เพราะถ้าอิ่มจะทำให้ เคลื่อนไหวบนเวทีไม่สะดวกและมีอาการจุกเสียดได้ง่าย
ผมชอบพูด ด้วยท้องว่าง และทานอาหารหลังจบการพูด
เพื่อเป็นการให้รางวัลตัวเอง มากกว่า
เช่น พูดตอนสาย จะทานข้าวเช้าน้อยๆ
หรือ พูดตอนบ่าย จะทานข้าวเที่ยงน้อยๆ (แต่ทานข้าวเช้าตามปกตินะ)

ย้ำว่า เทคนิค Speak Hungry นี้
เป็นความเชื่อส่วนตัวของผมนะครับ

EP. 24 : ข่ม…ความตื่นเต้น

19467911_1170704516367312_5948399157457447070_o

เมื่อสมองมีความเครียด
ร่างกายจะหลั่งฮอโมน คอร์ติซอล 
ที่จะปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ หรือ ความสามารถในการประมวลข้อมูลที่ซับซ้อนในสมองออกมาเป็นคำพูด
ความตึงเครียดนี้เองจะส่งผลให้เรามีความรู้สึกกังวลหรือตื่นเต้น เมื่อต้องยืนพูดหรือนำเสนอความคิด ต่อหน้าผู้คน
หากรู้ตัวว่า เครียดหรือตื่นเต้น
เรามีทางลดอาการเหล่านี้ 2 สาย ตามความถนัดของเรา
****************
สายสงบนิ่ง
หลับตาลง หายใจเข้าออกลึกๆ ให้นึกภาพสถานที่ที่เงียบสงบ จินตนาการว่าร่างกายของคุณรู้สึกอย่างไรเวลาที่มันผ่อนคลาย จนกว่าคุณจะสังเกตได้ว่าหัวใจของคุณเต้นช้าลง ลมหายใจสงบนิ่งมากขึ้น
****************
สายเคลื่อนไหว
สะบัด สลัดร่างกายเบาๆ เหมือนการ warm up หรือ ยืดเส้นยืดสาย เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย
หากรู้สึกตื่นเต้น ลอง “ข่ม” ความตื่นเต้น
ด้วยเทคนิคเหล่านี้ดูนะครับ

หากชื่นชอบบทความนี้ ท่านสามารถ กดติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *