IMG_5742

ผมมีประสบการณ์ด้านการพูดต่อหน้าที่ชุมชน และการฝึกอบรมที่หลากหลาย
ตั้งแต่ ให้คำแนะนำแบบตัวต่อตัว ไปจนถึง ➜ การพูดบนเวที กับผู้ชมหลักพัน
ปีนี้ผมมีแรงบันดาลใจ ที่จะแบ่งปัน เทคนิคง่ายๆ เพื่อสร้างผลลัพธ์ด้านการพูด ให้กับผู้คน สัปดาห์ละ 1 ข้อ
และนี่คือ การแบ่งปันสิ่งที่ผมชำนาญ ประจำเดือน สิงหาคม ของผมครับ

EP. 29: สไลด์ . . . ตัวช่วย หรือ ตัวฉุด?
EP. 30: 6 x 6 หลักการทำ สไลด์ แบบง่ายๆ ที่ได้ผล
EP. 31: แค่เพียงได้ซื้อเวลา ได้ยื้อเวลา
EP. 32: รู้ว่าเสี่ยง แต่คงต้องขอลอง

EP. 29: สไลด์ . . . ตัวช่วย หรือ ตัวฉุด?

IMG_4584

เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยเห็น การนำเสนอที่
• สไลด์ อัดแน่นไปด้วย ตัวอักษร หรือ
• สไลด์ มีรูปภาพยุบยับ เต็มไปหมด
คุณรู้สึกยังไงกับสไลด์เหล่านั้นครับ?

แน่นอน มันน่าเบื่อและน่าอึดอัดมาก
และทำนายได้เลยว่า การพูดและทำการนำเสนอครั้งนั้น
คงไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่

เพราะ สไลด์เหล่านั้นเป็น “ตัวฉุด” ไม่ใช่ “ตัวช่วย”

ถ้าเราอยากให้สไลด์กลายเป็นตัวช่วย
เราควรมาทำความเข้าใจหลักการพื้นฐานกันก่อนนะ

สไลด์ เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า
อุปกรณ์โสตทรรศนะ (Visual aid)
ซึ่งเป็น ส่วนเสริมในการนำเสนอ [ไม่ใช่การนำเสนอหลัก]

แผนภูมิ | รูปภาพ | กราฟ | แบบจำลอง
เป็นแค่สิ่งช่วยกระตุ้น ให้ผู้ฟังสนใจการนำเสนอของคุณมากขึ้น

ดังนั้นคุณไม่ควรใช้ Visual aid มากจนเกินไป
เพราะจะส่งผลให้ ผู้พูดไม่ได้รับความสนใจ

อาจจะกล่าวได้ว่าควรใช้ Visual aid เพื่อ
• ตอกย้ำประเด็นหลัก ว่ามีความสำคัญควรแก่การจดจำ
• ขยายความเข้าใจ ในเรื่องที่มีความซับซ้อนด้วยการใช้รูปภาพ เช่น ความสัมพันธ์ การก่อสร้าง สถิติ

EP. 30: 6 x 6 หลักการทำ สไลด์ แบบง่ายๆ ที่ได้ผล

IMG_4580

จากที่บอกว่า สไลด์ เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า อุปกรณ์โสตทรรศนะ (Visual aid)
ซึ่งเป็นตัวสนับสนุนข้อมูลอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์จะจดจำได้ดีที่ขึ้นเมื่อใช้ประสาทสัมผัส ทางตาและหู พร้อมๆกัน
ทั้งนี้ Visual aid มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

• เพิ่มความเข้าใจ
• ประหยัดเวลา
• เพิ่มอัตราการจดจำ
• ดึงดูดความสนใจ

ดังนั้นเรามีแนวทางการออกแบบ Visual aid ให้ดูแล้วสบายตาอ่านและเข้าใจง่ายดังต่อไปนี้

1. เห็นได้ชัดเจน จัดตัวอักษรให้โดดเด่น เว้นช่องไฟให้สวย ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่พอที่ทุกคนในห้องจะมองเห็น

2. ใช้ภาพหนึ่งภาพ ต่อหนึ่งประเด็นหลักเท่านั้น

3. ใช้หลักหกคูณหก [6 x 6]

คือ ไม่ใช้คำเกิน หกคำ ต่อหนึ่งแถว (6 words)

และ ไม่เกิน หกบรรทัด ต่อหนึ่งหน้า (6 lines)

4. เรียบง่าย เพื่อให้ผู้ฟังจับประเด็นได้สะดวกและรวดเร็วมากที่สุด

5. ใช้สีอย่างระมัดระวัง โดยต้องมั่นใจว่าผู้ชมสามารถอ่านได้ชัดเจน

6. มีเอกภาพ องค์รวมของสื่อที่ใช้ควรมีความเกี่ยวเนื่องกัน

7. ตัวสะกดและไวยากรณ์ ต้องถูกต้อง

ลองทำดูแล้วจะพบว่า งานดี แน่ๆครับ

EP. 31: แค่เพียงได้ซื้อเวลา ได้ยื้อเวลา

IMG_5214

ในการประกวดนางงาม ช่วงตอบคำถามของกรรมการ
เราคงได้ยิน สาวสวยหลายคนตอบสนองคำถามของกรรมการ ด้วยว่า

“ขอบคุณสำหรับคำถาม”

“คำถามนี้เป็นคำถามที่ดีมาก” . . . เพื่อซื้อเวลา

จริงๆแล้ว การซื้อเวลาหรือ ยืดเวลา เพื่อที่จะคิดหาคำตอบนั้นมีหลากหลายวิธี
วิธีง่ายๆที่ทำให้ ผู้ตอบมีไหวพริบมากขึ้น ก็คงจะเป็น

• การทวนคำถามจากกรรมการ หรือ
• อาจจะมีการถามคำถามนั้นๆ กลับไปยังผู้ชม เพื่อให้ผู้ชมคิด

เราอาจจะไม่คาดหวังคำตอบรับจากผู้ชม แต่อย่างน้อยๆ เราก็สามารถ มีเวลาเพิ่มขึ้นที่จะคิดคำตอบได้
จริงๆแล้วหลักการตอบคำถามเฉพาะหน้า ไม่ใช่เรื่องยากอะไรนัก ขอให้ตอบอย่าง

• ตรงประเด็น
• มีเหตุผล
• ยกตัวอย่างชัดเจน
• สรุปความ

การตอบคำถามนั้นๆ ก็จะเป็นการตอบที่ ตรงประเด็น น่าเชื่อถือ ชัดเจน และเข้าใจง่าย
หลักการนี้อาจจะใช้ในการ ตอบคำถามโดยทั่วไป
หรือใช้ตอบคำถามที่มาจากผู้ฟังในเวลาที่เรานำเสนอความคิดก็ได้ครับ

EP. 32: รู้ว่าเสี่ยง แต่คงต้องขอลอง

IMG_5215

“เป็นเรื่องบ้าบอสิ้นดี ที่จะทำอะไรแบบเดิมๆ
แล้วคาดหวังผลลัพธ์ใหม่ๆ” . . . ไอส์ไตน์ กล่าว

ในการพูด คงเป็นเรื่องน่าเบื่อสิ้นดี
ถ้าเราจะพูดเรื่องเดิมๆ กับผู้ฟังกลุ่มเดิมๆ
และคาดว่าจะมีผลลัพธ์อะไรใหม่ๆ

ดังนั้นการหาหัวข้อและวิธีการนำเสนอใหม่ๆ
ที่อยู่ในความสนใจของกลุ่มผู้ฟัง เป็นเรื่องที่ควรกระทำ
ดังนั้นการลอง “เสี่ยง” ที่จะสรรหาหัวข้อใหม่ๆ
อาจสร้างสีสันให้การนำเสนอของคุณก็เป็นไปได้

อย่างไรก็ตาม บนเวทีการพูดไม่ใช่ว่าคุณจะพูดได้ทุกเรื่อง หรือคิดว่าอยากจะพูดอะไรก็พูด
เพราะการพูดที่ดีควรจะต้อง [มีประเด็นหรือ มีคุณค่า] แก่ผู้ฟัง

ดังนั้นนี่คือ 4 เรื่องที่ควรงดเว้น
เพราะอาจจะก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งได้
• การเมือง
• ศาสนา
• เชื้อชาติ
• ความเชื่อส่วนบุคคล

ลองพิจารณาดูครับถ้าเรื่องใหม่ๆ นั้น ก่อให้เกิด “คุณค่า” กับผู้ฟัง

ผมคิดว่ามันคุ้มค่าที่จะเสี่ยงที่จะ
คิดและทดลองพูดหรือนำเสนอนอกกรอบ
บางที คุณอาจจะค้นพบวิธีการนำเสนอแบบใหม่ๆ ก็เป็นไปได้

หากชื่นชอบบทความนี้ ท่านสามารถ กดติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *