IMG_1726

ผมมีประสบการณ์ด้านการพูดต่อหน้าที่ชุมชน และการฝึกอบรมที่หลากหลาย
ตั้งแต่ ให้คำแนะนำแบบตัวต่อตัว ไปจนถึง ➜ การพูดบนเวที กับผู้ชมหลักพัน
ปีนี้ผมมีแรงบันดาลใจ ที่จะแบ่งปัน เทคนิคง่ายๆ เพื่อสร้างผลลัพธ์ด้านการพูด ให้กับผู้คน สัปดาห์ละ 1 ข้อ
และนี่คือ การแบ่งปันสิ่งที่ผมชำนาญ ช่วงท้ายของปีที่ผ่านมา ของผมครับ

EP. 33: เวที . . . มีอยู่ทุกที่
EP. 34: นี่ … นั่น … โน่น
EP. 35: การฟัง ของเราไม่เท่ากัน
EP. 36: เนื้อหา ปะทะ ลีลา

EP. 33: เวที . . . มีอยู่ทุกที่

20993004_1217891641648599_692991713816490860_n

หลายคนเข้าใจผิดว่าการพูดในที่ชุมชน
คือต้องพูดกับคนเยอะๆ
จริงๆแล้วการพูดกับคน “มากกว่าหนึ่งคน”
ก็ถือว่าเป็นการพูด ต่อหน้าที่ชุมชนแล้ว
จำนวนไม่ว่าจะ 2 คน 10 คน 100 คน หรือ 1000 คน

จุดที่แตกต่างหลักๆ คือ
การใช้พลังงานของผู้พูด ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
แต่บอกได้เลย ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าไหร่
เราก็จำเป็นจะต้องใส่ใจเรื่องพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ

• คำพูด: ต้องชัดเจน เห็นภาพและสื่อความหมาย
• น้ำเสียง: ต้องสัมพันธ์กับอารมณ์และ ความรู้สึก ของ เนื้อหาที่เราพูด
• ท่าทาง: ต้องมีความหมาย สอดคล้องและส่งเสริม ให้เรื่องที่พูด มีความโดดเด่น มากยิ่งขึ้น

ดังนั้นนักพูดและนักนำเสนอที่ดีไม่ควรเกี่ยงว่า เวทีที่จะขึ้นพูดนั้น มีขนาดเล็กหรือใหญ่ เราต้องเต็มที่กับทุกๆ เวที
ที่สำคัญ หากมีโอกาสเราควรฝึกฝีมืออยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความคุ้นชินและ เกิดทักษะติดตัว
เพราะในหลายๆ ครั้งการมองข้ามเวทีเล็กๆ อาจจะส่งผลให้เรา ตกม้าตาย บนเวทีใหญ่ใหญ่ได้

EP. 34: นี่ … นั่น … โน่น

IMG_5735

มีคนกล่าวว่า ความไม่ชัดเจนนำมาซึ่งความยุ่งเหยิง

ถูกต้องเลยครับหลายๆ ครั้งในชีวิตของเรา
ความไม่ชัดเจนจะทำให้เกิด ความไม่เข้าใจ ความสับสนและ นำปัญหามาให้เราได้อย่างต่อเนื่อง
ในการพูดก็เช่นเดียวกันครับ สังเกตสิว่าหลายๆคน
ชอบใช้คำว่า ไอ้นั่น ไอ้นี่ ไอ้โน่น อย่างงั้น อย่างงี้

เช่น ทำแบบนี้มันไม่ดี (แบบนี้ คือ แบบไหน?)
หรือ ไปหยิบงานชิ้นนั้น จากตรงโน้น (ชิ้นไหน? ตรงไหน?)

การใช้คำที่ไม่ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง
จะทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง
โชคดีหน่อย หากผู้ฟังสอบถาม เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
แต่ถ้าโชคร้าย ผู้ฟังอาจจะคิดเองเออเอง และลงมือทำบางสิ่งบางอย่างแบบที่เข้าใจผิดๆ ก็ได้

ในการสื่อสาร การพูดที่มีประเด็น สั้นกระชับ ชัดเจน จึงมีผลกระทบมากๆ ในการสื่อสาร
และจะสุดยอดมากๆ หารเราเลือกคำที่ทำเกิดภาพที่คมชัดให้จินตนาการของผู้ฟัง

EP. 35: การฟัง ของเราไม่เท่ากัน

21318966_1230147637089666_2752156053305477511_o

ซูวู กล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบ 100 ครั้ง ชนะ 100 ครั้ง”

ในโลกของการพูดคำว่า พูดแบบเดียว วิธีการเดียว (One Fit All) แล้วทุกคนชื่นชอบ คงจะเป็นไปได้ยาก
เนื่องจากพื้นที่การฟังของคนแต่ละคน
นั้นแตกต่างกันไปตามจริต หรือความชื่นชอบของพวกเขา
ดังนั้นถ้าเราต้องการทำให้ผู้ฟังสนใจ การพูดของเราจำเป็นที่จะต้องปรับตามความสนใจของผู้ฟัง

หากอ้างอิงตามทฤษฎี DISC คน
แต่ละคนจะมีจริตหรือความชื่นชอบในการฟังที่แตกต่างกัน

******************

คนประเภทแรก D = Dominance

คนเหล่านี้ ใส่ใจเรื่องผลลัพธ์
ดังนั้นการพูดให้คนเหล่านี้ฟังควรจะต้อง
มีเนื้อหา สั้น กระชับ ตรงประเด็น
ลีลาและน้ำเสียง เข้มแแข็ง ขึงขัง จริงจัง

******************

ประเภทที่สอง I = Influence

คนเหล่านี้ ใส่ใจเรื่องความสนุกสนาน
ดังนั้นการพูดให้คนเหล่านี้ฟังควรจะต้อง
มีเนื้อหา สนุกสนาน รื่นเริงบันเทิงใจ มีมุขตลก
ลีลาและน้ำเสียง สดชื่น แจ่มใส คล่องแคล่ว

******************

ประเภทที่สาม S = Steadiness

คนเหล่านี้ใส่ใจ เรื่องของความสัมพันธ์
ดังนั้นการพูดให้คนเหล่านี้ฟังควรจะต้อง
มีเนื้อหา เกี่ยวกับความสัมพันธ์ มิตรภาพ ใส่ใจความรู้สึกของผู้ฟัง
ลีลาและน้ำเสียง อ่อนโยน นุ่มนวล อบอุ่น

******************

ประเภทที่สี่ C = Conscientiousness

คนเหล่านี้ ใส่ใจเรื่องหลักการและเหตุผล
ดังนั้นการพูดให้คนเหล่านี้ฟังควรจะต้อง
มีเนื้อหา ข้อเท็จจริง หลักการทฤษฎี
ลีลาและน้ำเสียง สุขุมเยือกเย็น ช้าๆ มั่นคง

******************

กุญแจสำคัญ คือ

เราต้องสังเกต กลุ่มผู้ฟังให้ได้ว่า เป็นคนประเภทไหน
หากเราทราบได้ว่าเขาเป็นคนกลุ่มไหน
เราจะสามารถเลือกรูปแบบการพูดที่เหมาะกับพวกเขาได้

EP. 36: เนื้อหา ปะทะ ลีลา

21728823_1233884046716025_8265843091771006128_o

หลายคนบอกว่า “เสริมจุดเด่นจะง่าย และใช้เวลาน้อยกว่าแก้ไขจุดด้อย”

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าในแง่ของการพูด คำกล่าวนี้ค่อนข้างจะเป็นจริง
เพราะหากมองในแง่ขององค์ประกอบของการพูด
เราจะพบว่า การพูดมีสามองค์ประกอบของหลักๆ นั่นคือ คำพูด น้ำเสียงและ ท่าทาง

****************************

ผู้นำเสนอบางท่านมีความสามารถในแง่ของการใช้คำพูด
พวกเขามีคำพูดที่สละสลวย เห็นภาพชัดเจน หรือมีคำคม (แต่ลีลาและท่าทางไม่น่าสนใจเลย)

ถามว่าถ้าหากเขามีความโดดเด่นในด้านของการเลือกสรรคำ
ผู้ฟังก็ต้องการจะฟังอยู่มากมาย
เช่น นักเขียนหลายท่าน เมื่อผันตัวเองมาเป็นนักพูด เค้าอาจจะไม่ได้พูดเก่ง
แต่เนื้อหาในการพูดของเค้าจับใจผู้ฟัง

****************************

ผู้พูดบางคนอาจจะมีลีลาการใช้เสียงและท่าทางที่น่าสนใจ
มีลีลาการใช้เสียงที่น่าดึงดูดและท่าทางประกอบที่โดดเด่น
แต่อาจจะไม่ได้มีเนื้อหาที่เข้มข้น

ในหลายๆ ครั้งหากพิจารณาดูในเนื้อความหรือเนื้อหาของการพูดของเค้าแล้ว
เราจะพบว่าไม่ค่อยมีเนื้อหาสาระเท่าที่ควร
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้หรือว่าผู้ฟังหลายๆ คนก็มีความสุขในการฟังและดู ผู้พูดท่านนั้น
เพราะเขามีน้ำเสียงและลีลาการใช้เสียงที่น่าสนใจ น่าตื่นเต้น หรือสร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้ฟังได้

****************************
นักพูดหรือนักนำเสนอแต่ละคนล้วนมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน
นักนำเสนอที่สุดยอด คือ ผู้ที่รวบรวมองค์ประกอบทั้ง 3 เข้าด้วยกัน แต่…

บอกได้เลยว่าการที่คนที่มีเนื้อหาดีแล้วจะเพิ่มน้ำเสียงและท่าทาง
หรือการคนที่มีน้ำเสียงหรือท่าทางดีแต่จะเพิ่มเนื้อหาสาระ
ก็นับเป็นความท้าทาย ที่ยากลำบากของเค้าเหมือนกันทั้งคู่

ดังนั้นเมื่อเทียบเวลาแล้วการขัดเกลาในสิ่งที่เขาถนัด จะสร้างความโดดเด่นที่แตกต่างให้กับผู้พูดท่านได้ง่ายและเร็วขึ้น
ดังนั้นเราควรจะทราบว่าเรามีจุดเด่นด้านใด และพัฒนาจุดนั้นไปให้ไกลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพราะว่า “เสริมจุดเด่นจะง่ายและ ใช้เวลาน้อยกว่าแก้ไขจุดด้อย”

แต่ถ้าหาก “เราไม่มีจุดเด่นเลย” เราจะทำอย่างไรดี? . . . รวมบทความครั้งต่อไป มีคำตอบครับ

หากชื่นชอบบทความนี้ ท่านสามารถ กดติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *